หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

วัตถุโบราณ ถ้วยน้ำดื่มโบราณ เรียบเรียงโดยนาย เกียรติศักดิ์ โพนชัด

The Warren Cup ก็คือถ้วยน้ำดื่มโบราณชิ้นหนึ่งที่มีอายุอยู่ในราวๆ ตอนกลางของคริสตศตวรรษที่ 1 ในตอนนี้ตกอยู่ในความครอบครองของพิพิธภัณฑ์แห่งกรุงลอนดอน ชื่อของถ้วยนี้ได้มาจากผู้ครอบครองคนแรกในยุคปัจจุบัน นั่นคือ นักสะสมวัตถุโบราณผู้หลงใหลในศิลปะกรีก-โรมัน ที่ชื่อ Edward Perry Warren (มีชีวิตอยู่ในค.ศ. 1860-1928)



 

ในภาพแรกแกะสลักภาพของคู่รักชายสองคู่กำลังร่วมรักทางด้านหลัง ... คู่แรกเป็นชายหนุ่มวัยรุ่นกับชายสูงอายุ คู่ที่สองเป็นคู่ของหนุ่มวัยรุ่นทั้งคู่ แสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อม ทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมของผู้คนในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี การพรรณาถึงศิลปะทางเพศของกรีก-โรมัน สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในงานปั้นดินเผา เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องประดับตกแต่ง หรือแม้แต่รูปภาพบนผนัง

ถ้วยใบนี้นอกจากจะเป็นถ้วยที่แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของชาวกรีก-โรมันที่มีต่อรักร่วมเพศในยุคโบราณแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงทัศนคติต่อรักร่วมเพศของสังคมตะวันตกในยุคศตวรรษที่ 20 ด้วย เนื่องจากในตอนแรกนั้นทางสหรัฐอเมริกาปฎิเสธที่จะให้นำถ้วยใบนี้เข้ามาแสดง ในประเทศและพิพิธภัณฑ์แห่งกรุงลอนดอนก็ปฎิเสธที่จะซื้อถ้วยใบนี้มาแสดง และต่อมาถึงแม้จะตกลงซื้อถ้วยใบนี้แล้ว แต่ทางพิพิธภัณฑ์แห่งกรุงลอนดอนเก็บรักษาเอาไว้ไม่ยอมเอาออกมาแสดงต่อสาธารณะชนอยู่ถึงเกือบ 20 ปี

ในปี 1999 พิพิธภัณฑ์แห่งกรุงลอนดอนมีการชำระ-ประมูล-แลกเปลี่ยนวัตถุโบราณครั้งใหญ่ ถ้วยใบนี้ได้มีการนำออกมาแสดงเป็นครั้งแรก และถ้วยใบนี้ได้กลายเป็นวัตถุโบราณที่มีราคาประมูลสูงที่สุด นั่นคือมีมูลค่าถึง 1.8 ล้านปอนด์

The Warren Cup เป็นการแสดงให้เห็นถึงทัศนคติที่ดีต่อรักร่วมเพศของคนโบราณ ซึ่งทัศนคติของคนในโลกปัจจุบันอาจหลงลืมไป ในยุคกรีก-โรมันไม่เคยมีคำว่ารักร่วมเพศด้วยซ้ำ แต่ทุกท่วงท่าของความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นกับชาย-ชาย หรือชาย-หญิง ล้วนถูกเรียกด้วยคำๆเดียวว่า "ความรัก" โดยไม่มีการแบ่งแยกแต่อย่างใด




โอ๊ะ ... (- -" ศิลปะของกรีก-โรมัน นี่ขึ้นชื่อเรื่องความคลาสสิคและเสมือนจริงอยู่แล้วนะ ... แต่พอมาเจออิแบบนี้ มันอล่างฉ่าง ชัดเจนไปมั๊ยยย เฮือกกกกกก o,O" !!



เรียบเรียงโดยนาย เกียรติศักดิ์ โพนชัด
เลขที่14

บรรณานุกรม


GinOcto .//"วัตถุโบราณ ,"/วัตถุโบราณ .//23-09-2010 10:04:34 .
//<http://men.mthai.com/content/4380> //21 -09-2011.

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

กำเนิดวัตถุโบราณ(."ศิวลึงค์") เรียบเรียงโดย นายจตุพล จันทะเรือง

กำเนิดวัตถุโบราณ..."ศิวลึงค์"


กำเนิด...ศิวลึงค์         วัตถุโบราณที่ถูกสร้างสรรค์ให้เป็นรูปอวัยวะเพศชายนั้น เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะที่ผู้คนนิยมสักการะบูชากันตั้งแต่อดีตโบราณตราบจนปัจจุบันนี้ด้วยความเคารพศรัทธากันอย่างกว้างขวาง
 
             "ศิวลึงค์"เป็นเสมือนรูปเคารพแทนพระองค์ ที่มีปรากฏอยู่ในเทวสถานทุกแห่ง และก็มีธรรมเนียมประเพณีที่จะจัดพิธีกรรม เพื่อบูชาศิวลึงค์นี้โดยเฉพาะอีกด้วย        จึงกล่าวได้ว่าสัญลักษณ์ของพระศิวะมหาเทพนี้ค่อนข้างจะแตกต่างกับมหาเทพองค์อื่นๆตรงที่มีสัยลักษณ์แทนพระองค์เป็นรูปอวัยวะเพศชาย ที่ดูค่อนข้างจะพิสดารมิใช่น้อยและชวนให้ฉงนสงสัยในความเป็นมาแห่งสัญลักษณ์นี้
       
กำเนิดของศิวลึงค์นั้นปรากฏเป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างจะแปลกแยกแตกต่างกันออกไป ตามแต่ละคัมภีร์ แต่ละในศาสนาต่าง ๆ
ทางคติพราหมณ์ซึ่งบางตำราก็กล่าวว่าองค์พระศิวะนั้นทรงตั้งพระทัยที่จะประทานรูปศิวลึงค์หรือรูปเคารพที่เป็นรูปอวัยวะเพศชายที่ให้กับสาวกทั้งหลาย ทั้งปวงของพระองค์ได้สักการะบูชาแทนพระองค์
         ซึ่งการที่ประทานรูปเคารพเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากในงานบูชาตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3 ซึ่งประกอบไปด้วยพระพรหม พระวิษณุและพระศิวะ ที่จะต้องแสดงพระวรกายให้สาวกได้เห็นเป็นบุญตา
         ซึ่งพระพรหมก็จะปรากฏพระวรกายออกมาในรูปลักษณ์ที่มี 4 พักตร์ 4 กร ส่วนพระวิษณุก็จะปรากฏพระวรกายมาในรูปลักษณ์ที่เป็นมหาเทพมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร แต่สำหรับพระศิวะนั้นทรงปรากฏพระวรกายในรูปกายที่แปลกแหวกแนวสักหน่อย คือไม่ปรากฏออกมาเป็นรูปองค์เทพโดยตรงแต่กลับแสดงพระวรกายให้ปรากฏออกมาเป็นรูปอวัยวะเพศชาย ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชายไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือมหาเทพนั่นเอง
         ดังนั้นหลังจากงานพิธีกรรมบูชาเทพตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3 พระองค์นี้แล้ว บรรดาสาวกก็ได้สร้างศาลรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง 3 ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง 3 ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพพระพรหมเป็นรูปที่มี 4 พักตร์ 4 กร และสร้างรูปเคารพพระนารายณ์เป็นรูปมหาเทพผู้งดงามมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร และสำหรับพระศิวะนั้นสาวกก็ได้สร้างรูปเคารพให้เป็นรูปอวัยวะเพศชายตามที่พวกตนได้พบเห็นปรากฏแก่สายตา อันเป็นรูปจำลองเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะนั่นเอง

                                                        เรียบเรียงโดย นายจตุพล จันทะเรือง



บรรณานุกรม

จิ้มจุ่ม . “กำเนิดศิวลึงค์,”วัตถุโบราณ.17 กุมภาพันธ์ 2554.
<http://variety.teenee.com/world/33221.html>  20 สิงหาคม 2554

วัตถุโบราน ( กระถางธูปโบราณ ) เรียบเรียงโดย นาย สุรชัย บุญเพิ่ม


กระถางธูปโบราณ



กระถางธูปโบราณ หนึ่งในศิลปะวัตถุโบราณล้ำค่าทางวัฒนธรรมจีน (ภาพเอเยนซี)
     
       
พีเพิลเดลี - สื่อจีนเผยข้อมูลของ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ระบุว่า ศิลปะวัตถุโบราณล้ำค่าทางวัฒนธรรมของจีนที่ถูกปล้นชิงไปในอดีต จำนวนมากกว่า 1.6 ล้านชิ้น ได้ถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์ 47 แห่ง ทั่วโลก โดยพบมีมากที่สุดในบริติชมิวเซียม (British Museum) ประเทศอังกฤษ พีเพิลเดลี รายงานวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา
     
       สื่อรายงานว่า บริติชมิวเซียม มีศิลปะวัตถุโบราณจีนจำนวนทั้งสิ้น 23,000 รายการ ในจำนวนนั้นมีราว 2,000 ชิ้น ที่จัดแสดงอย่างถาวรในพิพิธภัณฑ์ วัตถุล้ำค่าทางวัฒนธรรมเหล่านั้น มีหลากหลายรายการ และมีความเก่าแก่ครอบคลุมตลอดประวัติศาสตร์จีน อาทิ แท่นพิมพ์ ภาพเขียน ภาพอักษรลายภู่กัน หยก เครื่องทองเหลือง กาน้ำ จนถึงเครื่องประดับชิ้นเล็กชิ้นน้อย
     
       
รายงานดังกล่าวระบุว่า 9 ใน 10 ของโบราณวัตถุหายากและเป็น
สมบัติของประเทศจีน จากจำนวน 23,000 ชิ้น ในบริติชมิวเซียม ถูกเก็บอยู่ในห้องแสดงนิทรรศการฯ ซึ่งนักท่องเที่ยวทั่วไปจะไม่มีโอกาสเข้าชมนอกจากจะได้รับอนุญาตเท่านั้น
     
       ทั้งนี้ ประเทศจีนได้เคยออกมา เรียกร้องถึงพิพิธภัณฑ์ของชาติะวันตกและห้องประมูลทั้งหลาย ในเรื่องการคืนทรัพย์สินล้ำค่าทางประวัติศาสตร์เหล่านั้น
     
       และที่เป็นข่าวโด่งดังเมื่อปีที่แล้วคือกรณี การประมูลหัวนักษัตร ซึ่งตกอยู่ในครอบครองเป็นทรัพย์สินของอีฟ แซงต์ โลรองต์ นักออกแบบเสื้อชื่อดัง ในเดือนมีนาคม 2552 ที่กลายเป็นโมฆะหลังจากชาวจีนผู้ชนะประมูล ไม่ยอมจ่ายเงินโดยอ้างเหตุผลว่าเป็นการกระทำเพื่อปกป้องทรัพยสมบัติของชาติ ซึงถูกปล้นไปในปี พ.ศ.2403 (ค.ศ.1860) เมื่อตอนสงครามฝิ่นครั้งที่สอง ที่ทหารอังกฤษและฝรั่งเศสยาตราทัพสู่กรุงปักกิ่ง และเผาพระราชวังฤดูร้อนของจักรพรรดิราชวงศ์ชิง
     
       หลิว เจิ้นหมิน ผู้แทนถาวรของจีนแห่งสหประชาชาติในเจนีวา ยังเคยกล่าวไว้เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2552 ในที่ประชุมสหประชาชาติ ว่า "มรดกล้ำค่าทางวัฒนธรรมที่ถูกปล้นไปเหล่านี้ควรจะกลับคืนสู่จีน รวมถึงการคืนทรัพย์สินทางวัฒนธรรมให้กับประเทศต่างๆ ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เพราะการประมูลดังกล่าว ขัดกับหลักการพื้นฐานของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และมติสหประชาชาติ ทั้งเป็นการล่วงละเมิดอย่างร้ายแรงต่อสิทธิทางวัฒนธรรมและผลประโยชน์ของเจ้าของที่แท้จริง"
     
       สื่อรายงานว่า เมื่อต้นปีที่แล้ว (พ.ศ. 2552) หน่วยงานรับผิดชอบศิลปะของจีนได้เคยแถลงถึงแผนการของหน่วยงานพิเศษ ที่ออกติดตามสืบค้นและจัดทำหนังสือรวบรวมรายการของสมบัติล้ำค่าจีนกว่า 10 ล้านชิ้น ที่กระจายอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ สถาบันฯ และความครอบครองของเอกชนทั่วโลก โดยในรอบหลายๆ ปีมานี้ อันเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกตกต่ำ มีผู้นำศิลปะวัตถุของจีน ทั้งที่เก่าแก่และร่วมสมัยมาประมูลขาย และเรียกราคากันมหาศาล การจัดสรรและทำการค้าเชิงพาณิชย์เหล่านั้นเป็นไปอย่างผิดกฎหมาย เหยียดหยาม ลบหลู่ ต่อประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก


รวบรวมโดย (นาย สุรชัย  บุญเพิ่ม  ม.5/2)
บรรณานุกรม
ASTV.//"กระถางธูปโบราณ หนึ่งในศิลปะวัตถุโบราณล้ำค่าทางวัฒนธรรมจีน,"/กระถางธูปโบราณ.// 8 พฤศจิกายน 2553// < http://www.manager.co.th/china/ViewNews.aspx?NewsID=9530000155489>
 //13
กันยายน 2554.

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

โบราณสถาน สุสานจักรพรรดิฉินที่ 1


สุสานจักรพรรดิฉินที่ 1

สุสานฉินสื่อหวง (จีนตัวเต็ม: 秦始皇兵馬俑; จีนตัวย่อ: 秦始皇兵; พินอิน: Qínshǐhuáng bīngmǎyǒng ฉินสื่อหวงปิงหมาหย่ง แปลว่า หุ่นทหารและม้าของฉินสื่อหวง) คือ ฮวงซุ้ยของจักรพรรดิจีนฉินสื่อหวงแห่งราชวงศ์ฉิน ตั้งอยู่ที่ตำบลหลินถง ห่างจากเมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี ประเทศจีน
สุสานฉินสื่อหวงได้ค้นพบโดยบังเอิญเมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 โดยชาวนาในหมู่บ้านซีหยาง ชื่อ หยางจื้อฟา ในขณะที่ขุดดินเพื่อทำบ่อน้ำ บริเวณเชิงเขาหลีซาน ห่างจากตัวเมืองซีอาน ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 35 กม.[1] โดยในระหว่างที่ขุดนั้น ก็บังเอิญพบกับซากของทหารดินเผา ที่ทราบภายหลังว่ามีอายุมากกว่า 2,000 ปี
ปัจจุบันรัฐบาลจีนขุดค้นพบวัตถุโบราณที่เป็นกองทัพทหารดินเผา สรรพาวุธ รถม้าและม้าศึก จำนวนทั้งสิ้นกว่า 7,400 ชิ้น ภายในบริเวณพื้นที่หลุมสุสานกว่า 25,000 ตร.ม. มีการคาดคะเนว่าอาณาเขตของสุสานฉินสื่อหวงจะมีพื้นที่มากกว่า 2,180 ตร.กม.[2] สุสานฉินสื่อหวงได้รับการคัดเลือกให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2530[3]
สุสานฉินสื่อหวงเริ่มก่อสร้างในสมัยฉินสื่อหวง ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 38 ปี ตั้งแต่ปี 246 - 208 ก่อนคริสตกาล ซึ่งอาณาเขตพื้นที่ของสุสานรวมทั้งสิ้น 2,180 ตร.กม. แบ่งออกเป็นพระราชฐานชั้นในและพระราชฐานชั้นนอก ภายในสุสานใช้บรรจุพระบรมศพของฉินสื่อหวง ทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ตลอดจนกองกำลังทหาร นางสนมและนางกำนัล รถม้าและขุนพลทหาร จำนวนมาก เพื่อเป็นตัวแทนของข้าราชบริพารในการร่วมเดินทางไปยังปรโลกของฉินสื่อหวง[4]
โครงสร้างและสถาปัตยกรรมโดยรวมของสุสาน มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความลึกเฉลี่ย 35 เมตร กว้าง 145 เมตร และ ยาว 170 เมตร
สำหรับห้องบรรจุพระบรมศพอยู่จุดกึ่งกลางของสุสาน มีความสูง 15 เมตร มีขนาดพื้นที่และความใหญ่โตมโหฬารราวกับสนามฟุตบอล
สำหรับภายใน ในส่วนที่ก่อสร้างจากหินนั้นยังคงได้รับการปิดผนึกอย่างดีโดยคงสภาพเดิมเอาไว้ และไม่เคยผ่านการขุดและรื้อทำลายมาก่อน โดยโครงสร้างของสุสานดังกล่าว มีรูปแบบโครงสร้างและการจัดสร้างที่มีความสลับซับซ้อน ขนาดของสุสานมีขนาดมหึมา ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติของจักรพรรดิจีนผู้รวบรวมประเทศจีนให้เป็นปึกแผ่น

โบราณสถาน พระราชวังโปตาลา


พระราชวังโปตาลา

พระราชวังโปตาลา (ภาษาทิเบต : པོ་ཏ་ལ།, การแปลโดยระบบไวลี: Po ta la ; อักษรจีนตัวย่อ: 布达拉; อักษรจีนตัวเต็ม : 布達拉宮) ตั้งอยู่ที่กรุงลาซา เขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน พระราชวังแห่งนี้อยู่เหนือกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 3,600 เมตร บนที่ราบสูงทิเบต พระราชวังซึ่งเป็นทั้งป้อมปราการ และ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ สร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 17 บนที่ตั้งปราสาทในสมัยพระเจ้าสองสันกัมโป ปราสาทถูกทำลายและสร้างใหม่หลายครั้งหลายคราว จนถึงทะไลลามะองค์ที่ 5 ใน ค.ศ. 1617 - 82 มีพระบัญชาให้สร้างปราสาทนี้ในลักษณะของวังซ้อนวัง พระราชวังวงนอกเรียกว่า วังขาว เพราะทาสีขาว สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1648 พระราชวังชั้นในเรียกว่า วังแดง ได้ชื่อตามผนังที่ทาสีแดง ซึ่งสร้างที่หลังวังขาวเกือบ 50 ปี พระราชวังโปตาลามีระเบียงที่มีภาพเขียนสีเรียงซับซ้อน มีทั้งบันไดไม้บันไดหิน มีห้องสวดมนต์ที่ตกแต่งสวยงาม มีรูปเคารพเกือบสองแสนองค์ ปัจจุบันพระราชวังโปตาลากลายเป็นพิพิธภัณฑ์และสถานสักการะ ภายในวังขาว มีสำนักงาน โรงเรียนศาสนา ส่วนวังแดงเป็นส่วนที่ยังใช้ประกอบพิธีกรรมอยู่ เป็นศูนย์รวมใจของโปตาลา

โบราณสถาน ผิงเหยา


ผิงเหยา
เมืองเก่าผิงเหยา (平遥古城 ผิงเหยากู้ฉาง Ping Yao) เป็นเมืองหนึ่งในมณฑลชานซี อยู่ห่างจากกรุงปักกิ่งประมาณ 715 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเมืองไท่หยวน เมืองเอกของมณฑล 80 กิโลเมตร ในสมัยราชวงศ์ชิง ผิงเหยาเป็นศูนย์กลางทางการเงินของจีน มีชื่อเสียงมาจากกำแพงเมืองโบราณที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดี และได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก
ความสำคัญทางประวัติศาสตร์
ผิงเหยายังคงมีโครงสร้างของเมืองเช่นเดียวกับสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ภายในเมืองและบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของโบราณสถานมากกว่า 300 แห่ง มีอาคารบ้านเรือนสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเกือบ 4,000 หลังได้รับการอนุรักษ์ให้คงลักษณะเช่นเดิม ถนนต่างๆยังคงมีลักษณะเช่นเดียวกับสมัยโบราณ
ใน ปี พ.ศ. 2529 รัฐบาลจีนได้ประกาศให้เมืองผิงเหยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประจำชาติ และต่อมาในปี พ.ศ. 2540 องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเมืองผิงเหยาให้เป็นมรดกโลก
กำแพงเมืองผิงเหยาสร้างขึ้นในปีที่ 3 ของรัชสมัยหงหวู่ฮ่องเต้ (พ.ศ. 1913) มีประตูเมืองอยู่ 6 ประตู โดยกำแพงด้านทิศเหนือและทิศใต้มีประตูด้านละ 1 ประตู ส่วนด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมีด้านละ 2 ประตู ทำให้กำแพงเมืองมีลักษณะเหมือนเต่า ตัวกำแพงสูงประมาณ 12 เมตร ความยาวโดยรอบ 6,000 เมตร นอกกำแพงมีคูเมืองกว้าง 4 เมตร และลึก 4 เมตร บนกำแพงมีป้อมปราการตั้งที่มุมกำแพงทั้งสี่ และหอสังเกตการณ์ 72 หลัง
เมื่อ พ.ศ. 2547 กำแพงเมืองด้านทิศใต้ส่วนหนึ่งพังลง แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมจนเรียบร้อย ขณะที่กำแพงส่วนอื่นๆยังคงทนแข็งแรงอยู่ ถือได้ว่าเป็นกำแพงเมืองโบราณที่ยังสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ทำให้กำแพงเมืองนี้เป็นจุดเด่นที่สำคัญในเมืองมรดกโลกแห่งนี้

โบราณสถานพงตึก

โบราณสถานพงตึก

ถ้ำผาหลงเหมิน (จีนตัวเต็ม: 龍門石窟; จีนตัวย่อ: 龙门石; พินอิน: lóngmén shíkū, หลงเหมินสือคู) เป็นกลุ่มถ้ำบนหน้าผา ห่างออกไปทางใต้ 12 กิโลเมตรจากเมืองลั่วหยาง ในมณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่ระหว่างภูเขาเซียงซานทางทิศตะวันออก และภูเขาหลงเหมินทางทิศตะวันตก หันหน้าออกสู่ริมฝั่งแม่น้ำอี้ พื้นที่บริเวณกลุ่มถ้ำมีความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร จัดว่าเป็น 1 ใน 3 แหล่งปฏิมากรรมโบราณที่ประกอบด้วย ถ้ำผาม่อเกา ถ้ำผาหลงเหมิน และถ้ำผาหยุนกัง ที่มีชื่อเสียงที่สุดในจีน
มรดกโลก
ถ้ำผาลงเหมินได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 24 เมื่อปี พ.ศ. 2543 ที่เมืองแคนส์ ประเทศออสเตรเลีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว