หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โปรแกรมเมอร์


โปรแกรมเมอร์
โปรแกรมเมอร์ (อังกฤษ: programmer) มีหน้าที่หลักคือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรมเมอร์สามารถหมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญในการโปรแกรมเฉพาะด้าน หรือผู้ที่สามารถเขียนโค้ดได้สำหรับหลากหลายซอฟต์แวร์ เอดา ไบรอนได้ชื่อว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เพราะเป็นคนแรกที่สามารถนำอัลกอริทึม มาเรียบเรียงเป็นชุดคำสั่ง ให้กับเครื่องคำนวณได้ในปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) ในยุคที่ยังไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์)
 

อาชีพ ทหาร

ทหาร
ทหารอาชีพ คือทหารที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีทั้งด้านจิตใจและวิญญาณเพื่อรับใช้ชาติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต   มีความเสียสละอดทนเป็นที่ตั้งและพร้อมเสมอที่จะยอมพลีชีวิต เลือดเนื้อเพื่อชาติเพื่อแผ่นดินอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอน ทหาร   ทุกคนต้องตระหนักและสำนึกเสมอว่าอาชีพของตนนั้นเป็นอาชีพที่ไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน ทหารไม่ใช่มนุษย์เงินเดือน        ทหารนั้นทำงานโดยเสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเป็นเดิมพัน     ต้องเสี่ยงเป็น เสี่ยงตายเพื่อชาติเพื่อประชาชน โดยไม่หวัง     อามิสสินจ้างความผูกพันเป็นส่วนตัว กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ          เป็นทหารทั้งกายและใจ

 

การตั้งฟาร์ม สุกร


การจัดการฟาร์มทั่วๆไป
การจัดการเลี้ยงดูสุกรจะเป็นพ่อแม่พันธุ์เป็นหลัก เพื่อต้องการผลิตลูกสุกร
 1) การจัดการพ่อสุกร (Boar Management)
  • เมื่อสุกรที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ อายุ 5 เดือน ต้องแยกออกมาเลี้ยงต่างหากเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต,ควบคุมน้ำหนัก
  • ฝึกให้สุกรที่แยกออกมาได้เห็นพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของสุกรตัวอื่น ๆ
  • อายุ 8 เดือน เริ่มใช้งานพ่อสุกรได้ (ต้องใช้ให้เหมาะสม)
  • อายุ 8 เดือน - 1ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 1- 2ครั้ง
  • อายุ มากกว่า 1 ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 3- 5ครั้ง
  • ไม่ควรให้สุกรทำงานหนักเกินไป
  • อายุการใช้งานของพ่อสุกร มีประมาณ 2ปี ครึ่ง
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 15 ตัว (แบบผสมจริง)
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 60-100 ตัว (แบบผสมเทียม)
  • ต้องมีการตรวจเช็คน้ำเชื้อพ่อสุกรเป็นระยะเพื่อดูปริมาณความเข้มข้นของตัวอสุจิว่ามีเท่าไร,ดูตัวเป็นตัวตายของตัวอสุจิ,ดูการพัฒนาของตัวอสุจิ,ดูความแข็งแรงของตัวอสุจิ
  • เวลาในการผสมพันธุ์ ควรมีอากาศเย็น อาจเป็นช่วงเช้า 6-8 โมง หรือตอนเย็น ตั้งแต่ 4 โมงเย็นเป็นต้นไป
  • การให้อาหารพ่อสุกร ควรให้ในปริมาณ 2 - 2 กิโลครึ่ง/ตัว/วัน
  • ให้วัคซีนกับพ่อสุกรโดยเฉพาะวัคซีนที่เป็นโรคสำคัญ
การตอนพ่อสุกร เมื่องดการใช้งานแล้ว เพื่อกำจัดกลิ่นของพ่อสุกร และก่อนทำการตอนต้องให้อดอาหาร24 ชั่วโมง ให้กินแต่น้ำ เพื่อที่จะสะดวกในการมัดสุกร,เลือดไหลน้อย

 

ผอ. (บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา)


ผอ.


           ผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการปฏิรูปการศึกษาระดับสถานศึกษา งานวิจัยหลายชิ้นได้ ระบุตรงกันว่า ผู้บริหารที่ให้ความเอาใจใส่ต่องานวิชาการ ทุ่มเทให้กับงานพัฒนาการเรียนการสอน มีคุณธรรม และมีภาวะผู้นำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสถานศึกษา ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี บุคลากรได้รับการพัฒนาและมีขวัญกำลังใจในการทำงาน(รุ่ง แก้วแดง.   ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ:  2544 )



นายก อบต.

นายก อบต.

นายก อบต.
 1. มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
พ.ศ. 2545 มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ จะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้น 4 ปี นับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
        2. ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
พ.ศ. 2545 และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ด้วย
             2.1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี บริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
             2.2 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิก
สภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
             2.3 ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตหรือพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น
คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น หรือเลขานุการ หรือที่ปรึกษาของผู้บริหารท้องถิ่น
เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึง 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
             2.4 รองนายก อบต. นายก อบต. สามารถแต่งตั้งรองนายก อบต. จากผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกสภา อบต. ได้ไม่เกิน
2 คน สามารถแต่งตั้งผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกสภา อบต.หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเลขานุการนายก อบต. ได้ 1 คน
        3. อำนาจหน้าที่นายก อบจ.
             3.1 ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายก อบต. ต้องแถลงนโยบายต่อสภา อบต. โดยไม่มีการลงมติ หากไม่สามารถดำเนิน
การได้ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งต่อสมาชิกสภา อบต. ทุกคน
             3.2 ทำคำร้องยื่นต่อนายอำเภอ ขอให้เปิดประชุมสภา อบต. วิสามัญได้ เมื่อเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อ
ประโยชน์ของ อบต.
             3.3 สภา อบต. ไม่สามารถลงมติให้นายก อบต. พ้นจากตำแหน่งได้
             3.4 ในที่ประชุมสภา อบต. สมาชิกสภา อบต. มีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายก อบต. และมีสิทธิเสนอญัตติขอเปิด
อภิปรายทั่วไป เพื่อให้นายก อบต. แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร อบต. โดยไม่มีการลงมติโดยการขอเปิดอภิปรายทั่วไปจะทำได้ครั้งเดียวในสมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่ง
             3.5 นายก อบต. รองนายก อบต. หรือผู้ซึ่งนายก อบต.มอบหมาย มีสิทธิเข้าประชุมสภา อบต. และมีสิทธิ
แถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแแนน




วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กิจกรมวันแม่


ภาพกิจกรรมวันแม่

กิจการ ขายลูกชิ้น
ผลจากการทำกิจกรรมวันแม่ กลุ่มของเราได้จัดทำการขายสินค้าคือ ลูกชิ้นนึ่ง

ต้นทุนการผลิต : 300 บาท
ผลจากการขาย : ขายได้ 260 บาท
ขาดทุน : 40 บาท

ผลจากการจัดในครั้งนี้คือ ทำให้ได้รู้จักการขายสินค้าว่าจำนวนสินค้ามีจำนวนมากเกินไปความต้องการของตลาดมีน้อยเกินไป สินค้าเลยขายไม่หมด
***********************************************
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
1. นาย จตุพล   จันทะเรือง  เลขที่ 1
2. นาย พีระพัฒน์  เทียบโพธิ์ เลขที่ 8
3. นาย สุรชัย  บุญเพิ่ม เลขที่ 12
4. นาย เกียรติศักดิ์   โพนชัด เลขที่ 14
5. นาย  สืบสกุล  ครองประจิตร เลขที่ 45
************************************************

สมาชิกในกลุ่ม


สมาชิกกลุ่ม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
1. นาย จตุพล   จันทะเรือง  เลขที่ 1
2. นาย พีระพัฒน์  เทียบโพธิ์ เลขที่ 8
3. นาย สุรชัย  บุญเพิ่ม เลขที่ 12
4. นาย เกียรติศักดิ์   โพนชัด เลขที่ 14
5. นาย  สืบสกุล  ครองประจิตร เลขที่ 45

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด