หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

วัตถุโบราน ( กระถางธูปโบราณ ) เรียบเรียงโดย นาย สุรชัย บุญเพิ่ม


กระถางธูปโบราณ



กระถางธูปโบราณ หนึ่งในศิลปะวัตถุโบราณล้ำค่าทางวัฒนธรรมจีน (ภาพเอเยนซี)
     
       
พีเพิลเดลี - สื่อจีนเผยข้อมูลของ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ระบุว่า ศิลปะวัตถุโบราณล้ำค่าทางวัฒนธรรมของจีนที่ถูกปล้นชิงไปในอดีต จำนวนมากกว่า 1.6 ล้านชิ้น ได้ถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์ 47 แห่ง ทั่วโลก โดยพบมีมากที่สุดในบริติชมิวเซียม (British Museum) ประเทศอังกฤษ พีเพิลเดลี รายงานวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา
     
       สื่อรายงานว่า บริติชมิวเซียม มีศิลปะวัตถุโบราณจีนจำนวนทั้งสิ้น 23,000 รายการ ในจำนวนนั้นมีราว 2,000 ชิ้น ที่จัดแสดงอย่างถาวรในพิพิธภัณฑ์ วัตถุล้ำค่าทางวัฒนธรรมเหล่านั้น มีหลากหลายรายการ และมีความเก่าแก่ครอบคลุมตลอดประวัติศาสตร์จีน อาทิ แท่นพิมพ์ ภาพเขียน ภาพอักษรลายภู่กัน หยก เครื่องทองเหลือง กาน้ำ จนถึงเครื่องประดับชิ้นเล็กชิ้นน้อย
     
       
รายงานดังกล่าวระบุว่า 9 ใน 10 ของโบราณวัตถุหายากและเป็น
สมบัติของประเทศจีน จากจำนวน 23,000 ชิ้น ในบริติชมิวเซียม ถูกเก็บอยู่ในห้องแสดงนิทรรศการฯ ซึ่งนักท่องเที่ยวทั่วไปจะไม่มีโอกาสเข้าชมนอกจากจะได้รับอนุญาตเท่านั้น
     
       ทั้งนี้ ประเทศจีนได้เคยออกมา เรียกร้องถึงพิพิธภัณฑ์ของชาติะวันตกและห้องประมูลทั้งหลาย ในเรื่องการคืนทรัพย์สินล้ำค่าทางประวัติศาสตร์เหล่านั้น
     
       และที่เป็นข่าวโด่งดังเมื่อปีที่แล้วคือกรณี การประมูลหัวนักษัตร ซึ่งตกอยู่ในครอบครองเป็นทรัพย์สินของอีฟ แซงต์ โลรองต์ นักออกแบบเสื้อชื่อดัง ในเดือนมีนาคม 2552 ที่กลายเป็นโมฆะหลังจากชาวจีนผู้ชนะประมูล ไม่ยอมจ่ายเงินโดยอ้างเหตุผลว่าเป็นการกระทำเพื่อปกป้องทรัพยสมบัติของชาติ ซึงถูกปล้นไปในปี พ.ศ.2403 (ค.ศ.1860) เมื่อตอนสงครามฝิ่นครั้งที่สอง ที่ทหารอังกฤษและฝรั่งเศสยาตราทัพสู่กรุงปักกิ่ง และเผาพระราชวังฤดูร้อนของจักรพรรดิราชวงศ์ชิง
     
       หลิว เจิ้นหมิน ผู้แทนถาวรของจีนแห่งสหประชาชาติในเจนีวา ยังเคยกล่าวไว้เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2552 ในที่ประชุมสหประชาชาติ ว่า "มรดกล้ำค่าทางวัฒนธรรมที่ถูกปล้นไปเหล่านี้ควรจะกลับคืนสู่จีน รวมถึงการคืนทรัพย์สินทางวัฒนธรรมให้กับประเทศต่างๆ ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เพราะการประมูลดังกล่าว ขัดกับหลักการพื้นฐานของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และมติสหประชาชาติ ทั้งเป็นการล่วงละเมิดอย่างร้ายแรงต่อสิทธิทางวัฒนธรรมและผลประโยชน์ของเจ้าของที่แท้จริง"
     
       สื่อรายงานว่า เมื่อต้นปีที่แล้ว (พ.ศ. 2552) หน่วยงานรับผิดชอบศิลปะของจีนได้เคยแถลงถึงแผนการของหน่วยงานพิเศษ ที่ออกติดตามสืบค้นและจัดทำหนังสือรวบรวมรายการของสมบัติล้ำค่าจีนกว่า 10 ล้านชิ้น ที่กระจายอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ สถาบันฯ และความครอบครองของเอกชนทั่วโลก โดยในรอบหลายๆ ปีมานี้ อันเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกตกต่ำ มีผู้นำศิลปะวัตถุของจีน ทั้งที่เก่าแก่และร่วมสมัยมาประมูลขาย และเรียกราคากันมหาศาล การจัดสรรและทำการค้าเชิงพาณิชย์เหล่านั้นเป็นไปอย่างผิดกฎหมาย เหยียดหยาม ลบหลู่ ต่อประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก


รวบรวมโดย (นาย สุรชัย  บุญเพิ่ม  ม.5/2)
บรรณานุกรม
ASTV.//"กระถางธูปโบราณ หนึ่งในศิลปะวัตถุโบราณล้ำค่าทางวัฒนธรรมจีน,"/กระถางธูปโบราณ.// 8 พฤศจิกายน 2553// < http://www.manager.co.th/china/ViewNews.aspx?NewsID=9530000155489>
 //13
กันยายน 2554.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น