หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นายก อบต.

นายก อบต.

นายก อบต.
 1. มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
พ.ศ. 2545 มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ จะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้น 4 ปี นับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
        2. ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
พ.ศ. 2545 และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ด้วย
             2.1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี บริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
             2.2 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิก
สภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
             2.3 ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตหรือพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น
คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น หรือเลขานุการ หรือที่ปรึกษาของผู้บริหารท้องถิ่น
เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึง 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
             2.4 รองนายก อบต. นายก อบต. สามารถแต่งตั้งรองนายก อบต. จากผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกสภา อบต. ได้ไม่เกิน
2 คน สามารถแต่งตั้งผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกสภา อบต.หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเลขานุการนายก อบต. ได้ 1 คน
        3. อำนาจหน้าที่นายก อบจ.
             3.1 ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายก อบต. ต้องแถลงนโยบายต่อสภา อบต. โดยไม่มีการลงมติ หากไม่สามารถดำเนิน
การได้ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งต่อสมาชิกสภา อบต. ทุกคน
             3.2 ทำคำร้องยื่นต่อนายอำเภอ ขอให้เปิดประชุมสภา อบต. วิสามัญได้ เมื่อเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อ
ประโยชน์ของ อบต.
             3.3 สภา อบต. ไม่สามารถลงมติให้นายก อบต. พ้นจากตำแหน่งได้
             3.4 ในที่ประชุมสภา อบต. สมาชิกสภา อบต. มีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายก อบต. และมีสิทธิเสนอญัตติขอเปิด
อภิปรายทั่วไป เพื่อให้นายก อบต. แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร อบต. โดยไม่มีการลงมติโดยการขอเปิดอภิปรายทั่วไปจะทำได้ครั้งเดียวในสมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่ง
             3.5 นายก อบต. รองนายก อบต. หรือผู้ซึ่งนายก อบต.มอบหมาย มีสิทธิเข้าประชุมสภา อบต. และมีสิทธิ
แถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแแนน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น